บทที่1 ความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี

  


1.1ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
  1.1.1 ประเภทของสารเคมี
 สารเคมีมีหลายประเภท แต่ละประเภทจึงมีฉลากข้อมูลเกี่ยวกับสารเพื่อความปลอดภัย การนำไปใช้
การกำจัด และการจัดเก็บ โดยฉลากควรมีข้อมูลดังนี้
  1.ชื่อผลิตภัณฑ์
  2.รูปลักษณะ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
  3.คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
  4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉลากสารเคมี
                                                                 ตัวอย่างฉลากสารเคมี
     GHS (Globally Harmonised System for Classification and labeling of Chemicals) เป็นระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถสื่อสารและเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายในการทดสอบและประเมินสารเคมี ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้สารเคมีแต่ละประเภทจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยไม่เกิดผลเสียหรืออันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์ ghs
ตัวอย่างสัญลักษณ์ 
  1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการทางเคมี
    ก่อนทำปฏิบัติการ
  1.ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทำปฏิบัติการให้เข้าใจ
  2.ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้
  3.แต่งกายให้เหมาะสม
    ขณะทำปฏิบัติการ
  1.ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
    1.1สวมแว่นตานิรภัย
    1.2ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
    1.3ไม่ทำการทดลองในห้องปฏิัติการเพียลำพัง
    1.4ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะทำปฏิบัติการ
    1.5ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอยาสงเคร่งครัด
    1.6ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อนทำงานโดยไม่มีคนดูแล
  2.ข้อปฏิบัติในหารใช้สารเคมี
    2.1อ่านชื่อสารเคมีและฉลากให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
    2.2การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทำด้วยความระมัดระวัง
    2.3การทำปฏิกิริยาเคมีในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดออกจากตัว
    2.4ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง
    2.5การเจือจาร ก้ามเทนํ้าลงกรดแต่ให้เทกรดลงนํ้า
    2.6ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากเทหรือตักออกจากขวดแล้วกลับเข้าขวดเด็ดขาด
    2.7เมื่อสารเคมีหกให้กวาดแล้วทิ้งในที่ทิ้งสารเคมี
  หลังทำปฏิบัติการ
  1.ทำความสะอาดอุปกรณ์
  2.ก่อนออกจากห้องให้ถอดชุดปฏิบัติการ
1.1.3การกำจัดสารเคมี
  1.สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายละลายนํ้าได้มี่ค่าpHเป็นกลางสามารถเทลงอ่างและเปิดนํ้าตามได้
  2.สารละลายเข้มข้นบางชนิด ควรเจือจารก่อนทิ้ง
  3.สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย สามารถใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดติดฉลากแล้วทิ้งในที่ทิ้งสารได้
  4.สารไวไฟควรทิ้งไว้ในภาชนะที่ห้องปฏิบัติการเตรียมไว้
1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
 การปฐมพยบาลเมื่อร่างการสัมผัสสารเคมี
 1.ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนออก
 2.กรณีที่เป็นสารเคมีละลายนํ้าได้ควรเปิดนํ้าไหลผ่านในปริมาณมาก
 3.กรณีที่สารเคมีไม่ละลายนํ้า ให้ล้างด้วยนํ้าสบู่
 4.หากทราบว่าสารเคมีคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารควมปลอดภัยของสารเคมี
 การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
   ตะแคงศีรษธให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่างแล้วเปิดนํ้าไหลผ่าน พยายามกรอกตาในนํ้าประมาณ10นาที จนแน่ใจว่าสารเคมีออกหมดแล้ว
การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ
1.เมื่อมีแก๊สพิษเกิดขึ้นต้องรีบออกจารบริเวณนั้น
2.หากมีผู้หมดสติ ต้องรีบเคลื่อนย้าย
3.ปลดเสื้อผ้าให้ผู้หมดสติหายใจได้สะดวก
4.สังเกตกาเต้นของหัวใจและการหายใจ
การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
แช่นํ้าเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบนํ้าจนหายปวดแสบปวดร้อนแล้วทาด้วยยาขี้ผึ้ง หากเกิดบาดแผลใหย่ให้นำส่งแพทย์
1.3การวัดปริมาณสาร  ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถพิจารณาได้จาก2ส่วนตือความเที่ยงและความแม่น ซึ่งได้จากการวัด
1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร
                  บีกเกอร์                                                              ขวดรูปกรวย  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บีกเกอร์                                  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ขวดรูปกรวย
    
          กระบอกตวง                                                                  ปิเปตต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระบอกตวง                              à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ปิเปตต์

               บิวเรตต์                                                                    ขวดกำหนดปริมาตร

     à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ บิวเรตต์                                           à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ขวดกําหนดปริมาตร

1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งแบบสามคาน                                                 เครื่องชั่งไฟฟ้า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องชั่งแบบสามคาน                   à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องชั่งไฟฟ้า

1.3.3 เลขนัยสำคัญ  จำนวนหลักของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้
การนับเลขนัยสำคัญ
1.เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ
2.เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ
3.เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ
4.เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
5.เลขที่เขียนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยตัวเลขสัมประสิทธิ์ทุกตัวเป็นเลขนัยสำคัญ
 การปัดตัวเลข
1.ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า5ให้ปัดลง
2.ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า5ให้ปัดขึ้น
3.ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ5ให้ปัดขึ้น
 การบวกและการลบ
ผลลัพธ์ที่ได้ะมีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่มีจำนวนตัวเลขที่อยู่หลังุดทศนิยมน้อยที่สุด
การคูณและการหาร
ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับข้อมูลที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด
การคำนวณที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขที่แม่นตรง
ไม่ต้องพิจารณาเลขนับสำคัญของตัวเลขที่แม่นตรง
1.4หน่วยวัด
1.4.1หน่วยในระบบเอสไอ
หน่วยเอสไแพื้นฐาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยเอสไอพื้นฐาน
หน่วยเอสไออนุพันธ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หน่วยเอสไออนุพันธ์
หน่วยนอกระบบเอสไอ
นอกจากหน่วยในระบบเอสไอแล้ว ในทางเคมียังมีหน่วยอื่นที่ได้ับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ปริมาตร ลิตร(L) 
       มวล กรัม(g)  ดอลตัน(Da)  หน่วยมวลอะตอม(u)
       ความดัน บาร์ (bar) มิลลิปรอท(mmHg) บรรยากาศ(atm)
      ความยาว อังสตรอม(Aํ)
      พลังงาน  แคลอรี่(cal)
     อุณหภูมิ องศาเซลเซียส ( ํC)
1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย เป็นอัตราส่วนระหว่างหน่วยที่แตกต่างกัน2หน่วยท่มีปริมาณเท่ากัน
เช่น  1 L = 1000 ml      (1 L / 1000 ml)  =1  เป็นแฟคเตอร์ที่จะเปลี่ยน ml  ให้เป็น L

สารละลายกลูโคส 9 % โดยมวล/ปริมตร =  สารละลายกลูโคส  (9  g /สารละลาย 100 ml )
                                                    = (10 g)(1 mol/180 g)/(100ml)(1 L/1000 ml)
                                                    = 0.5 mol/L
วิธีเทียบหน่วย ทำได้โดยการคูณปริมานในหน่วยเริ่มต้นด้วยแฟกเตอร์ที่มีหน่วยที่ต้องการอยู่มด้านบนตามสมการ
ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ=ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น x หน่วยที่ต้องการ/หน่วยเริ่มต้น
1.5วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอน 
  1.การสังเกต
  2.การตั้งสมมติฐาน
  3.การตรวจสอบสมมติฐาน
  4.การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล
  5.การสรุปผล
ทั้งนี้ในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสร์นั้นไม่มีรูปแบบตายตัว โดยอาจจะมีรายละเอียดแตกต่างขึ้นอยู่กับคำถาม บริบท และวิธีการใช้ในการสำรวจตรวจสอบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น